“ตักบาตรดอกเข้าพรรษา” ประเพณีเก่าแก่หนึ่งเดียวในโลกที่จังหวัดสระบุรี

ความเป็นมาของการตักบาตรดอกไม้ เชื่อว่ามาจากพุทธตำนานที่เมื่อครั้น พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์ ทรงโปรดปรานดอกมะลิมาก ในแต่ละวันจะรับสั่งให้นายมาลาการนำดอกมะลิสดมาถวายถึง วันละ 8 กำมือ

วันหนึ่งขณะที่นายมาลาการกำลังเก็บดอกมะลิ ได้พบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์อีกจำนวนหนึ่งเสด็จออกบิณฑบาตร นายมาลาการสังเกตุเห็นพรรณรังษี ฉายประกาย รอบ ๆ พระวรกาย

ทำให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธองค์อย่างยิ่ง นายมาลาการตัดสินใจนำดอกมะลิที่มีไปถวายแด่ พระพุทธเจ้า พร้อมกันนั้นก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า ข้าวของทุกสิ่งที่พระเจ้าพิมพิสารทรงมอบให้เพียงเพื่อยังชีพในภพนี้เท่านั้น แต่การนำดอกไม้ถวายบูชาแก่พระพุทธองค์ สร้างอานิสงส์ได้ทั้งภพนี้และภพหน้า หากถูกประหารชีวิตเพราะไม่ได้ถวายดอกมะลิก็ยินยอม

เมื่อภรรยานายมาลาทราบความ ก็เกรงกลัวว่าจะต้องโทษที่สามีไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้าพิมพิสาร ก็หลบหนีออกจากบ้านไป

แต่หลังจากที่พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบกลับพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก และได้ปูนบำเหน็จรางวัล ความดีความชอบแก่นายมาลาการ นับแต่นั้นมาชีวิตของนายมาลาการก็อยู่อย่างมีความสุข

“ตักบาตรดอกพรรษา” ประเพณีเอกลักษณ์ จ.สระบุรี

ประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็นประเพณีสำคัญที่อยู่คู่กับวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหารมาช้านาน พี่น้องประชาชนชาวพระพุทธบาทและใกล้เคียง จะถือเอาวันเข้าพรรษาของทุกปีเป็นวันตักบาตรดอกไม้ และตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา จังหวัดสระบุรี ได้เพิ่มจำนวนวันตักบาตรดอกไม้ จาก 1 วัน เป็น 3 วันมีพิธีตักบาตรดอกไม้วันละ 2 รอบ คือ รอบเช้าเวลา 10.00 น. รอบบ่าย เวลา 15.00 น.

ในวันนั้นพระภิกษะสงฆ์จะรับบิณฑบาตรดอกไม้จากพุทธศาสนิกชน แล้วนำออกมาสักการะพระเจดีย์ที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนำไป สักการะบูชาพระเจดีย์มหาธาตุองค์ใหญ่ที่บรรจุพระบรมพระสารีริกธาตุ และเข้าโบสถ์ประกอบพิธี สวดอธิษฐานเข้าพรรษา

“วันเข้าพรรษา” วันจำพรรษาของพระสงฆ์ เช็กหลักธรรม-กิจกรรมพุทธศาสนิกชนทำได้

วันอาสาฬหบูชา-วันเข้าพรรษา 2566 ตรงกับวันที่เท่าไร ถือเป็นวันหยุดไหม ทำไมบางบริษัทไม่ได้หยุด

สระบุรีเริ่มจัดงาน 31 ก.ค.-2 ส.ค.นี้

ปีนี้ประเพณีตักบาตรดอกไม้ตรงกับวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 – 2 สิงหาคม 2566 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • วันที่ 30 กรกฎาคม 2566
    • เวลา 07.30 น. จัดพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
    • เวลา 09.30 น. พิธีบวงสรวงเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 7 แห่ง
  • วันที่ 31 กรกฎาคม 2566
    • เวลา 10.00 น. ช่วงเช้าพิธีถวายเทียนพระราชทาน ณ พระอุโบสถ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
    • เวลา 15.00 น. จัดขบวนแห่พยุหยาตรา ขบวนรถบุปผชาติ ขบวนวัฒนธรรม ขบวนอัตลักษณ์ประเพณี ขบวนชาติพันธุ์ การแสดงต่าง ๆ และพิธีเปิดงาน
  • วันที่ 1-2 สิงหาคม 2566
    • เวลา 09.00 น และ 15.00 น. พิธีตักบาตรดอกเข้าพรรษา และล้างเท้าพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการตักบาตรดอกไม้ในประเทศไทย ยังปรากฏเป็นประเพณีถือปฏิบัติในวันเข้าพรรษาที่วัดอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะในภาคกลาง เช่น วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร, วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร และ วัดจินดามณี จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งตามภาษาท้องถิ่นจะเรียกประเพณีตักบาตรดอกไม้ว่า “ประเพณียายดอกไม้”

แต่การตักบาตรดอกไม้ ของวัดพระพุทธบาทฯ จังหวัดสระบุรีนั้น จะใช้เพียง “ดอกเข้าพรรษา” หรือ “ดอกหงส์เหิน” เท่านั้น ถือเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงดังไปไกลทั่วโลก

ความสำคัญของการตักบาตรดอกไม้

เจตนาเดิมของชาวบ้านที่ทำประเพณีนี้เพราะต้องการให้พระที่กำลังอธิษฐานเข้าพรรษาได้มีดอกไม้บูชาพระ ชาวบ้านเองก็พลอยเป็นผู้ได้บุญไปด้วย

แต่ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นพิธีการใหญ่ โดยเฉพาะในจังหวัดสระบุรี จะมีประชาชนจากท้องถิ่นอื่นมาร่วมงาน จัดขบวนรถแห่กันหรือบางครั้งก็มีการโฆษณากิจกรรมของท้องถิ่นตนไปด้วย เรียว่าเป็นงานประเพณีที่รวมคน รวมความคิด รวมฝีมือ และความรวมศรัทธาที่แท้จริง

รู้จัก “ดอกเข้าพรรษา”

ดอกเข้าพรรษา หรือ หงส์เหิน เป็นดอกไม้ที่จะออกดอกชูช่อตลอดฤดูฝนของทุกปี ชาวพุทธจึงมักจะนำดอกไม้ชนิดนี้ไปบูชาพระ จนเป็นที่มาของชื่อเรียกที่ว่า “ดอกเข้าพรรษา” หรือ “ดอกหงส์เหิน”

ดอกเข้าพรรษาเป็นพืชวงศ์เดียวกับขิง (Zingiberaceae) ลักษณะจึงคล้าย ขิง กระชาย หรือขมิ้น ที่มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า ลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบรวมกัน ใบเดี่ยว รูปรี ปลายใบแหลมเรียว เจริญเติบโตเป็นกลุ่มกอ ดอกออกเป็นช่อ มีกลีบประดับขนาดใหญ่ ที่เรามักจะเข้าใจผิดว่าเป็นกลีบดอก กลีบประดับนี้มีสีสันสวยงาม เช่น สีขาว สีม่วง สีแดง สีชมพู และเหลือง ดอกจริงจะมีขนาดเล็ก สีเหลือง ส้ม หรือขาว ลักษณะคล้ายนกหรือหงส์ที่กำลังเต้นรำ จึงเป็นอีกหนึ่งที่มาของชื่อ “หงส์เหิน” นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ใครกำลังทำบุญถวายดอกไม้ในวันพระนี้ เราได้รวบรวมคำถวายดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ มาฝากกันดังนี้ “อิมานิ มะยัง ภันเต ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ ระตะนัตตะยัสเสวะ อะภิปูเชมะ อัมหากัง ระตะนัตตะยัสสะ ปูชา ทีฆะรัตตัง หิตะสุขาวะหา โหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา” คำแปล : ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชา ธูป เทียน และดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้แก่พระรัตนตรัย ขอจงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์สุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เพื่อให้ถึงซึ่งนิพพาน ที่ซึ่งสิ้นอาสวะกิเลสเทอญ

ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสโขทัยธรรมาธิราช, สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสระบุรี และอุทยานหลวง ราชพฤกษ์

"วันเข้าพรรษา" บุญประเพณี ความเชื่อ บทสวดถวายเทียนพรรษา คำถวายผ้าอาบน้ำฝน คำพูดจาก เว็บสล็อตแท้

"ข้าวต้มมัด" ขนมมงคลของคู่รัก รับเทศกาล "วันเข้าพรรษา 2566"

 “ตักบาตรดอกเข้าพรรษา” ประเพณีเก่าแก่หนึ่งเดียวในโลกที่จังหวัดสระบุรี