แหล่งน้ำแห่งใหม่ของระบบสุริยะ! พบมหาสมุทรใต้ผิว “ดวงจันทร์มิมาส”

สิ่งที่ทำให้ “โลก” ของเรามีความพิเศษแตกต่างจากดาวเคราะห์อื่น ๆ คือการมีอยู่ของ “น้ำ” ซึ่งเป็นแหล่งก่อเกิดและหล่อเลี้ยงทุกชีวิต นั่นทำให้การตามหาน้ำเป็นหนึ่งในภารกิจที่ยิ่งใหญ่ของการศึกษาจักรวาลและอวกาศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

แหล่งน้ำแห่งใหม่ของระบบสุริยะ! พบมหาสมุทรใต้ผิว “ดวงจันทร์มิมาส”

ในระบบสุริยะจักรวาลเอง นอกจากโลก ก็พบร่องรอยการมีอยู่ของน้ำบนดาวอังคาร และ “ดวงจันทร์” บริวารของดาวเคราะห์บางดวง ประกอบด้วย ไททัน (Titan) และเอนเซลาดัส (Enceladus) ของดาวเสาร์ และยูโรปา (Europa) และแกนีมีด (Ganymede) ของดาวพฤหัสบดี ที่มีมหาสมุทรอยู่ใต้ดิน

นักวิทย์พบ “ดวงจันทร์กำลังหดตัว” ทำให้เกิดแผ่นดินไหว-ดินถล่ม

เจมส์ เว็บบ์ ตรวจพบ “คาร์บอน” บนดวงจันทร์ “ยูโรปา” ของดาวพฤหัสบดี

พบ “องค์ประกอบของชีวิต” บนดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์

ล่าสุดนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบหลักฐานว่า “มิมาส” (Mimas) ดวงจันทร์ที่เล็กที่สุดของดาวเสาร์ มีมหาสมุทรซ่อนอยู่ใต้พื้นผิวของมันด้วยเช่นกัน ทำให้เป็นแหล่งน้ำล่าสุดที่ถูกค้นพบในระบบสุริยะ

ดวงจันทร์มิมาสมีขนาดประมาณ 400 กม. ถูกค้นพบในปี 1789 โดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ วิลเลียม เฮอร์เชล จากการสังเกตเห็นจุดเล็ก ๆ ใกล้ดาวเสาร์ ต่อมาสามารถถ่ายภาพได้เป็นครั้งแรกจากอวกาศโดยยานวอยเอเจอร์ในปี 1980

พื้นผิวของดวงจันทร์มิมาสเป็นน้ำแข็ง ทั่วพื้นผิวเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาตจำนวนมาก แต่หลุมที่ใหญ่ที่สุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 130 กิโลเมตร ทำให้มีหน้าตาและลักษณะคล้ายดาวมรณะ (Death Star) จากภาพยนตร์เรื่องสตาร์วอร์ส (Star Wars)

ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์คิดว่ามิมาสเป็นเพียงก้อนน้ำแข็งก้อนใหญ่ กระทั่งภารกิจแคสสินี (Cassini) ขององค์การนาซาได้ศึกษาดาวเสาร์และดวงจันทร์ทั้ง 146 ดวงระหว่างปี 2004-2017

ข้อมูลของมิมาสที่รวบรวมได้จากภารกิจแคสสินีคือ ดวงจันทร์ดวงนี้ใช้เวลามากกว่า 22 ชั่วโมงเล็กน้อยในการโคจรรอบดาวเสาร์ อยู่ห่างจากดาวเสาร์เพียง 186,000 กม.

ข้อมูลของแคสสินียังแสดงให้เห็นว่า การหมุนและการเคลื่อนที่ไปตามวงโคจรของมิมาสเกิดจากปัจจัยภายในของดวงจันทร์ โดยทีมนักวิจัยจกยุโรประบุในปี 2014 ว่า สาเหตุการหมุนรอบตัวเองและการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์มิมาสนั้น อาจเกิดจากแก่นกลางที่แข็ง ยาว และเป็นหิน หรือไม่ก็ “มหาสมุทรใต้ดิน”

เพื่อพิสูจน์ผลการศึกษาก่อนหน้านี้ ดร.วาเลรี ไลนีย์ นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวปารีส และทีมวิจัย ได้วิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนที่ของวงโคจรเพื่อดูว่าสถานการณ์ใดน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด

ไลนีย์กล่าวว่า ทีมงานพิจารณาแล้วว่า การหมุนรอบตัวเองของดวงจันทร์มิมาสและการเคลื่อนที่ไปตามวงโคจร ไม่ตรงกับการสำรวจของแคสสินีหากมิมาสมีแก่นเป็นหินยาวแบน พัฒนาการของวงโคจรของมิมาสเมื่อเวลาผ่านไปชี้ให้เห็นว่า มหาสมุทรใต้ดินต่างหากที่เป็นตัวกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของมัน

ดร.นิก คูเปอร์ นักวิจัยกิตติมศักดิ์ ภาควิชาดาราศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์กายภาพและเคมี มหาวิทยาลัยควีนแมรี หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “การค้นพบนี้เพิ่มมิมาสเข้าไปในกลุ่มดวงจันทร์พิเศษที่มีมหาสมุทรใต้ดิน รวมถึงเอนเซลาดัสและยูโรปา แต่มีความแตกต่างที่ไม่เหมือนใคร เพราะมหาสมุทรของมันยังอายุน้อยอย่างน่าทึ่ง ซึ่งคาดว่าจะมีอายุเพียง 5-15 ล้านปีเท่านั้น”

ทีมวิจัยระบุต้นกำเนิดและอายุของมหาสมุทรมิมาสโดยศึกษาว่ามันตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงที่ดาวเสาร์กระทำกับมันอย่างไร

ไลนีย์บอกว่า คำตอบของคำถามข้างต้นอยู่ที่การเกิดความร้อนภายในดวงจันทร์มิมาส โดยทีมวิจัยพบว่า “มีความร้อนภายในมิมาส ซึ่งมาจากน้ำขึ้นน้ำลง (Tide) ที่เกิดจากแรงดึงดูดของดาวเสาร์ ผลกระทบจากน้ำขึ้นลงเหล่านี้ทำให้เกิดแรงเสียดทานภายในดวงจันทร์และทำให้เกิดความร้อน”

ทีมงานสงสัยว่า มหาสมุทรอยู่ลึกลงไปใต้เปลือกน้ำแข็งของดวงจันทร์มิมาสประมาณ 20-30 กิโลเมตร เนื่องจากมหาสมุทรยังอายุน้อย หากพูดตามหลักดาราศาสตร์แล้ว จะไม่มีสัญญาณภายนอกใด ๆ บนพื้นผิวที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของมหาสมุทรใต้ผิวดิน

ทีมวิจัยบอกว่า มหาสมุทรใต้ดินของมิมาสยังอยู่ระหว่างการพัฒนา ดังนั้นมันจึงอาจช่วยแสดงให้เห็นได้ว่า กระบวนการเบื้องหลังการก่อตัวของมหาสมุทรใต้พื้นผิวดวงจันทร์น้ำแข็งคืออะไร และการค้นพบนี้อาจเปลี่ยนวิธีที่นักดาราศาสตร์คิดเกี่ยวกับดวงจันทร์ในระบบสุริยะของเรา

“มันค่อนข้างน่าประหลาดใจ ถ้าคุณดูที่พื้นผิวของมิมาส ไม่มีอะไรที่บ่งบอกเลยว่ามีมีมหาสมุทรอยู่ใต้ผิวดิน มันเป็นตัวเลือกที่ไม่น่าเป็นไปได้มากที่สุดในตอนนี้” ไลนีย์กล่าว

เขาเสริมว่า “ถ้าขนาดมิมาสยังซ่อนมหาสมุทรไว้ได้ นั่นหมายความว่า น้ำที่เป็นของเหลวสามารถอยู่ได้เกือบทุกที่ เรามีดวงจันทร์ดวงอื่นอีกที่อาจมีมหาสมุทรซ่อนอยู่ใต้พื้นผิว เช่น คาลลิสโต ไดโอน และไทรตัน”

การค้นพบครั้งนี้ทำให้ทีมวิจัยแนะนำว่า อาจถึงเวลาที่จะต้องสังเกตหรือศึกษาดวงจันทร์ดวงอื่นทั่วระบบสุริยะ ที่ก่อนหน้านี้ด้วยสภาวะต่าง ๆ อาจทำให้เชื่อว่าไม่มีมหาสมุทรอยู่ แต่ความจริงแล้วอาจซ่อนไว้หรือเพิ่งมีมหาสมุทรก่อตัวขึ้นมา

อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่

เรียบเรียงจาก CNN

9 ก.พ. ไหว้ตรุษจีน 2567 จุดธูปกี่ดอก เวลาไหนดี พร้อมทิศมงคลเสริมเฮง

กสิกร ชี้แจง ปัญหาเงินถูกถอนออกจากบัญชีเอง แนะ เก็บบัตร ATM – เดบิต ไว้กับตัว

สรุปจบประเด็นดราม่า! บ้านคุณยายพิธา-ตระกูลอภัยวงศ์