หุ้น AH ดิ่งแรงกว่า 20% ผวา อีซูซุ ย้ายฐานผลิตรถหนีไทย ไปอินโดฯ
AH กำไรนิวไฮ 1,824 ล้านบาท พุ่ง 78% รับดีมานด์ชิ้นส่วนรถยนต์ จ่ายปันผล 0.96 บาท
อีซูซุ เร่งพัฒนารถกระบะไฟฟ้า ISUZU D-Max EV ยืนยันขึ้นไลน์ผลิตในไทย
เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2566 เวลา 11.00 น. หุ้น AH ของบริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) ราคาร่วงแรงกว่า 20% จนอยู่ที่ระดับ 32 บาทต่อหุ้น ทำราคาต่ำสุดช่วงเช้าที่ราคา 27.75 บาท มูลค่าซื้อขาย 2,000 ล้านบาทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลัง รอยเตอร์ (Reuters) สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า อีซูซุ มอเตอร์ (Isuzu Motors) ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น มีแผนเตรียมย้ายฐานการผลิตจากในไทย ไปยังประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในต้นปีหน้า
เมื่อวานนี้ (7 มิ.ย.66) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ของอินโดนีเซีย ได้เข้าพบกับผู้บริหารของ อีซูซุ ในกรุงโตกียว ประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับแถลงระบุว่า "ขอบคุณในการตัดสินใจของ อีซูซุ โดยอินโดนีเซียจะให้สิ่งจูงใจ และสนับสนุนกระบวนการย้ายฐานการผลิตในครั้งนี้"
อย่างไรก็ตาม อีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) ยังไม่ได้ยืนยันถึงกระแสข่าวดังกล่าวแต่อย่างใด
ทั้งนี้ปัจจุบันอินโดนีเซีย มีฐานผลิตรถยนต์ของค่ายรถญี่ปุ่นหลายยี่ห้อ เช่น ฮอนด้า มิตซูบิชิ ซูซุกิ และซูซูกิ รวมถึงได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเป็นศูนย์กลางการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า โดยจะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีจำนวนมากในประเทศ เช่น นิกเกิล ที่เป็นวัตถุดิบผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน
"AH" ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ให้กับแบรนด์ชื่อดังหลายค่าย
สำหรับ บมจ.อาปิโก ไฮเทค หรือ AH เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์รายใหญ่ของไทย ปัจจุบันมี 3 ธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ สัดส่วน 73% ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายและศูนย์บริการรถยนต์ สัดส่วน 27% รวมถึงธุรกิจบริการด้านเทคโนโลยี IoT สัดส่วน 1%
โดยกลุ่มลูกค้าของ AH ส่วนใหญ่เป็นค่ายรถยนต์แบรนด์ดัง เช่น อีซูซุ, นิสสัส, มาสด้า, บีเอ็มดับบลิว, โตโยต้า, ฟอร์ด, มิตซูบิชิ, ฮอนด้า, ซูซูกิ และเกรทวอลล์มอเตอร์ เป็นต้น
ขณะที่งบการของ AH ปี 65 มีกำไรสุทธิ 1,823 ล้านบาท และมีรายได้รวม 28,348 ล้านบาท ขณะที่ล่าสุดไตรมาส 1 ปี 66 มีกำไรสุทธิ 597 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีรายได้รวม 8,197 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.3% % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเมินผลกระทบรายได้ AH หากอีซูซุย้ายฐานผลิตจริง
ล่าสุด บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง มองว่า อีซูซุจะไม่ได้ย้ายฐานการผลิตไปจริง เพราะต้นค่าเสียโอกาสที่สูง (switching cost) อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมายังไม่ได้มีสัญญานใด ๆ มาจาก อีซูซุ ซึ่งถ้าจะมีการย้ายฐานจริงบริษัทน่าจะได้รับแจ้งมาก่อนหน้า
นอกจากนั้นการย้ายฐานการผลิตตามกรอบเวลาตามข่าว ไม่น่าจะเป็นไปได้เนื่องจากต้องใช้เวลาในการหาห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ใหม่ ซึ่งไม่น่าจะทันในปีหน้าตามข่าว ตอนนี้อีซูซุในเมืองไทยยังคงออเดอร์ทั้งปีเหมือนเดิมกับ AH และคาดว่าชิ้นส่วนที่ผลิตอยู่แล้วสำหรับโมเดลเดิมยังคงได้รับอย่างต่อเนื่อง
แต่กรณีที่แย่ที่สุด หากโรงงานการผลิตหนึ่งในสองย้ายไปที่อินโดนิเซียจริง คาดว่ารายได้ของ AH จะหายไป 10-15% จากตอนนี้ที่ธุรกิจ OEM มีสัดส่วนรายได้อยู่ 73% ของรายได้รวมของบริษัท และอีซูซุ มีสัดส่วนอยู่ที่ 36% ของรายได้ OEM สำหรับไตรมา 1 ปี 66